ประเพณีไทย อารยธรรมไทย ประเพณีไทยอันดีงามที่สืบทอดต่อกันมานั้น ล้วนแตกต่างกันไปตามความเชื่อ ความผูกพันของผู้คนต่อพุทธศาสนาและการดำรงชีวิตที่สอดประสานกับฤดูกาลและธรรมชาติอย่างชาญฉลาดของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่นทั่วแผ่นดินไทย เช่น ภาคเหนือ ประเพณีบวชลูกแก้วของคนไตหรือชาวไทยใหญ่ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ภาคอีสาน ประเพณีบุญบั้งไฟของชาวจังหวัดยโสธร ภาคกลาง ประเพณีทำขวัญข้าวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาคใต้ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็น ต้น นอกจากนี้ ประเพณีแอารธรรมไทยยังนำมาซึ่งการท่องเทียว เป็นที่รู้จักและประทับใจแก่ชาติอื่นนับเป็นมรดกอันลำค่าที่เราคนไทยควรอนุรักษ์และสืบสานให้ยิ่งใหญ่ตลอดไป
» ประเพณีลอยกระทง.
ประเพณีลอยกระทง ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ เดือน 12 เริ่มขึ้นครั้งแรก ในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี โดยมีนางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬารัตน์ พระสนมเอกแห่งพระร่วงเจ้า เป็นผู้ให้กำเนิด
ประเพณีลอยกระทง ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ เดือน 12 เริ่มขึ้นครั้งแรก ในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี โดยมีนางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬารัตน์ พระสนมเอกแห่งพระร่วงเจ้า เป็นผู้ให้กำเนิด
» พิธีแห่เทียนพรรษา.
ส่วนความเป็นมาของเทศกาลแห่เทียนของชาวเมืองอุบลนั้น แต่ก่อนไม่ได้แห่เทียนเหมือนในปัจจุบัน แต่จะทำการฟั่นเทียน ยาวรอบศีรษะไปถวายพระเพื่อจุดบูชาในช่วงจำพรรษา นอกจากเทียนแล้วยังมีน้ำมัน เครื่องไทยทาน และผ้าอาบน้ำฝนพอมาถึงสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิ์ประสงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองอุบล ครั้งหนึ่งได้มีการแห่บั้งไฟและได้เกิดเรื่องมีการตีกันทำให้มีคนเสียชีวิต จึงทำให้ถูกเลิกการแห่บั้งไฟ และได้เปลี่ยนมาเป็นการแห่เทียนแทน
ส่วนความเป็นมาของเทศกาลแห่เทียนของชาวเมืองอุบลนั้น แต่ก่อนไม่ได้แห่เทียนเหมือนในปัจจุบัน แต่จะทำการฟั่นเทียน ยาวรอบศีรษะไปถวายพระเพื่อจุดบูชาในช่วงจำพรรษา นอกจากเทียนแล้วยังมีน้ำมัน เครื่องไทยทาน และผ้าอาบน้ำฝนพอมาถึงสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิ์ประสงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองอุบล ครั้งหนึ่งได้มีการแห่บั้งไฟและได้เกิดเรื่องมีการตีกันทำให้มีคนเสียชีวิต จึงทำให้ถูกเลิกการแห่บั้งไฟ และได้เปลี่ยนมาเป็นการแห่เทียนแทน
» พฤศจิกายน ประเพณีลอยโคม จ.เชียงใหม่.
งานประเพณีพื้นบ้านในวันเพ็ญเดือน ๑๒ ของชาวล้านนาจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีความเชื่อในการปล่อยโคมลอยซึ่งทำด้วยกระดาษสาติดบนโครงไม้ไผ่แล้วจุดตะเกียงไฟตรงกลางเพื่อให้ไอความร้อนพาโคมลอยขึ้นไปในอากาศเป็นการปล่อยเคราะห์ปล่อยโศกและเรื่องร้ายๆต่างๆ ให้ไปพ้นจากตัว
งานประเพณีพื้นบ้านในวันเพ็ญเดือน ๑๒ ของชาวล้านนาจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีความเชื่อในการปล่อยโคมลอยซึ่งทำด้วยกระดาษสาติดบนโครงไม้ไผ่แล้วจุดตะเกียงไฟตรงกลางเพื่อให้ไอความร้อนพาโคมลอยขึ้นไปในอากาศเป็นการปล่อยเคราะห์ปล่อยโศกและเรื่องร้ายๆต่างๆ ให้ไปพ้นจากตัว
» กรกฎาคม ประเพณีแห่เทียนพรรษา จ.อุบลราชธานี.
ประเพณีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดอุบลราชธานี มีขึ้นในช่วงวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาของทุกปี โดยคุ้มวัดต่างๆ จะจักทำต้นเทียนแกะสลักอันงดงามแห่แหนไปรอบเมืองก่อนที่จะนำไปถวายตามอุโบสถของวัดต่างๆ ต่อไป
ประเพณีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดอุบลราชธานี มีขึ้นในช่วงวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาของทุกปี โดยคุ้มวัดต่างๆ จะจักทำต้นเทียนแกะสลักอันงดงามแห่แหนไปรอบเมืองก่อนที่จะนำไปถวายตามอุโบสถของวัดต่างๆ ต่อไป
» ประเพณีบุญบั้งไฟ จ.ยโสธร.
ประเพณีพื้นบ้านของชาวอีสานที่ผูกพันกับความเชื่อในเรื่องการขอฝนด้วยการทำบั้งไฟจุดขึ้นไปบนฟ้าเพื่อขอฝนจากพญาแถน ซึ่งเป็นงานประเพณีที่จัดขึ้นในวันเสาร์และอาทิตย์ที่ ๒ เดือนพฤษภาคมของทุกปี
ประเพณีพื้นบ้านของชาวอีสานที่ผูกพันกับความเชื่อในเรื่องการขอฝนด้วยการทำบั้งไฟจุดขึ้นไปบนฟ้าเพื่อขอฝนจากพญาแถน ซึ่งเป็นงานประเพณีที่จัดขึ้นในวันเสาร์และอาทิตย์ที่ ๒ เดือนพฤษภาคมของทุกปี
» กุมภาพันธ์ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ จ.นครศรีธรรมราช.
งานประเพณีสำคัญที่จัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี เพื่อนมัสการองค์พระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราชในงานมีการกวนข้าวมธุปายาส ประกวดผ้าพระบฏและโคมประดับ และมีการแห่ผ้าขึ้นธาตุไปตามถนนแล้วนำไปห่มองค์พระธาตุเป็นการสักการบูชา
งานประเพณีสำคัญที่จัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี เพื่อนมัสการองค์พระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราชในงานมีการกวนข้าวมธุปายาส ประกวดผ้าพระบฏและโคมประดับ และมีการแห่ผ้าขึ้นธาตุไปตามถนนแล้วนำไปห่มองค์พระธาตุเป็นการสักการบูชา
» ประเพณีวิ่งควายของจังหวัดชลบุรี.
นอกจากจะจัดให้มีการแข่งขันวิ่งควาย ประกวดความงามของควาย และประกวดสุขภาพของควายแล้วยังมีการ "สู่ขวัญควาย" หรือทำขวัญควายไปในตัวอีกด้วยแม้ปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่ในประเทศจะหันมาใช้เครื่องจักรกลหรือที่เรียกว่าควายเหล็กช่วยผ่อนแรงในการทำนาแล้วก็ตาม แต่ชาวชลบุรีก็ยังคงอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นอันแปลกนี้อยู่ เพราะนอกจากจะเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดแล้ว ยังเป็นเครื่องแสดงถึงความสามัคคีของชาวชลบุรีอีกด้วย
นอกจากจะจัดให้มีการแข่งขันวิ่งควาย ประกวดความงามของควาย และประกวดสุขภาพของควายแล้วยังมีการ "สู่ขวัญควาย" หรือทำขวัญควายไปในตัวอีกด้วยแม้ปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่ในประเทศจะหันมาใช้เครื่องจักรกลหรือที่เรียกว่าควายเหล็กช่วยผ่อนแรงในการทำนาแล้วก็ตาม แต่ชาวชลบุรีก็ยังคงอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นอันแปลกนี้อยู่ เพราะนอกจากจะเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดแล้ว ยังเป็นเครื่องแสดงถึงความสามัคคีของชาวชลบุรีอีกด้วย
» ประเพณีทำขวัญข้าวของชาวนา.
ประเพณีทำขวัญข้าวเป็นพิธีสำคัญของชาวนา เมื่อต้นข้าวแตกกอเขียวงอกงามแล้วจึงทำพิธี " ขวัญข้าว "
ประเพณีทำขวัญข้าวเป็นพิธีสำคัญของชาวนา เมื่อต้นข้าวแตกกอเขียวงอกงามแล้วจึงทำพิธี " ขวัญข้าว "
» การตักบาตรเทโว.
ประวัติความเป็นมา ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้และเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดา โดยจำพรรษาอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเวลา 1 พรรษา และเมื่อออกพรรษาแล้วพระองค์ได้เสด็จกลับโลกมนุษย์ ณ เมืองสังกัสสนครการ
ประวัติความเป็นมา ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้และเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดา โดยจำพรรษาอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเวลา 1 พรรษา และเมื่อออกพรรษาแล้วพระองค์ได้เสด็จกลับโลกมนุษย์ ณ เมืองสังกัสสนครการ
» ประเพณีแข่งเรือ จ.บุรีรัมย์.
ประเพณีพื้นบ้านที่แสดงให้เห็นถึงวิธีชีวิตของคนไทยอันผูกพันกับสายน้ำมาเนิ่นนานโดยในฤดูฝนเมื่อเสร็จสิ้นการดำนา นับจากเดือนสิงหาคมเป็นต้นไป จนถึงราวเดือนพฤศจิกายนที่น้ำหลากเต็มตลิ่ง ชาวบ้านก็จะจัดงานแข่งเรือกันขึ้นเพื่อความสนุกสนาน และการสมัครสมานสามัคคีกัน
ประเพณีพื้นบ้านที่แสดงให้เห็นถึงวิธีชีวิตของคนไทยอันผูกพันกับสายน้ำมาเนิ่นนานโดยในฤดูฝนเมื่อเสร็จสิ้นการดำนา นับจากเดือนสิงหาคมเป็นต้นไป จนถึงราวเดือนพฤศจิกายนที่น้ำหลากเต็มตลิ่ง ชาวบ้านก็จะจัดงานแข่งเรือกันขึ้นเพื่อความสนุกสนาน และการสมัครสมานสามัคคีกัน
» ประเพณีรำบวงสรวงพระธาตุพนม จ.นครพนม.
งานบุญยิ่งใหญ่ของชาวจังหวัดนครพนม ที่จัดขึ้นเพื่อนมัสการองค์พระธาตุพนมในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกๆ ปี
งานบุญยิ่งใหญ่ของชาวจังหวัดนครพนม ที่จัดขึ้นเพื่อนมัสการองค์พระธาตุพนมในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกๆ ปี
Welcome to "Songkran Day" This is a Thai traditional New Year which starts on April 13th every year. ประเพณีวันสงกรานต์ปกติมีทั้งหมด๓วัน คือเริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๓ เมษายน ถึง ๑๕ เมษายน โดยถือเอาวันที่ ๑๓ เป็นวันต้น หรือวันมหาสงกรานต์ วันที่ ๑๔ เป็นวันเนาหรือวันกลาง และวันที่ ๑๕ เป็นวันเถลิงศก หรือวันสุดท้าย แต่วันต้นวันเนาวันเถลิงศกนี้ หากนับทางจันทรคติหรือคำนวณทางโหราศาสตร์อาจจะคลาดเคลื่อนกันบ้างในแต่ละปี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น